messager
insert_drive_file ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของหน่วยงาน

ความเป็นมา
ความเป็นมาของตำบลหนามแท่ง คำว่า “หนามแท่ง” มีที่มาจาก การที่สมัยก่อน พื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นพื้นที่ราบหุบเขา พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่งมีต้นไม้ใหญ่ไม่หนาแน่นนัก และที่สำคัญ คือ มีต้นหนามแท่งอยู่มากมายกระจายทั่วบริเวณ และเนื่องจากตำบลหนามแท่ง อยู่ห่างจากตัวอำเภอศรีเมืองใหม่ มาทางทิศตะวันออกประมาณ 32 กิโลเมตร มีเส้นทางเกวียน เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมายังอำเภอศรีเมืองใหม่ และจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อมีผู้คนเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยเพื่อทำมาหากินและตั้งรกราก เป็นชุมชนมากขึ้นมา ผู้คนจะพูดกันติดปาก โดยเรียกชาวบ้านที่เดินทางมาจากชุนชนบริเวณนี้ว่า “ชาวหนามแท่ง” ต่อมาเมื่อมีการจัดระเบียบการปกครองท้องที่ขึ้น จึงได้รวบรวมเอาหมู่บ้านชุมชนต่างๆ บริเวณนั้น ตั้งขึ้นเป็น ”ตำบลหนามแท่ง” โดยได้ตั้งชื่อตำบลตามชื่อของหมู่บ้าน “หนามแท่ง” หมู่ที่ 1 ในปัจจุบัน ตำบลหนามแท่ง เป็นตำบลหนึ่งใน 11 ตำบลของอำเภอศรีเมืองใหม่ ซึ่งตำบลรับการประกาศจากกระทรวงมหาดไทย แยกเขตการปกครองเป็น ตำบลหนามแท่ง มีผลเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2500 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี เดิมมีเพียง 10 หมู่บ้าน ต่อมาตำบลหนามแท่ง มีความเจริญ และมีประชากรมากขึ้น จึงเกิดหมู่บ้านเพิ่มขึ้น อีก 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านไร่ศรีสุข แยกตัวออกมาจาก บ้านชาด และบ้านหนามแท่งน้อย แยกตัวออกมาจาก บ้านหนามแท่ง ปัจจุบันตำบลหนามแท่งแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลหนามแท่ง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลหนามแท่ง เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลหนามแท่ง เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา

รูปภาพ










check_circle สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไปของ อบต.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนามแท่ง ตั้งอยู่ในเขตปกครองอำเภอศรีเมืองใหม่ อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ตั้งอำเภอ มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอประมาณ 32 กิโลเมตร มีระยะทางห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 112 กิโลเมตร เนื้อที่ ตำบลหนามแท่งมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 410 ตารางกิโลเมตร ( 256,250 ไร่ ) อาณาเขต ทิศเหนือ มีเขตติดต่อกับ ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ทิศใต้ มีเขตติดต่อกับ ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ทิศตะวันออก มีเขตติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศตะวันตก มีเขตติดต่อกับ ตำบลนาคำ และตำบลนาเลิน อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี เขตการปกครอง ตำบลหนามแท่งมีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลหนามแท่ง เต็มทั้ง 12 หมู่ หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านหนามแท่ง (นายอุดม สีหา : ผู้ใหญ่บ้าน) หมู่ที่ 2 บ้านนาคอ (นายประสิทธิ์ นามพิมพ์ : กำนัน) หมู่ที่ 3 บ้านชาด (นายชัยณรงค์ นามพิมพ์ : ผู้ใหญ่บ้าน) หมู่ที่ 4 บ้านโหง่นขาม (นายทองคำ เชิดไชย : ผู้ใหญ่บ้าน) หมู่ที่ 5 บ้านดงนา (นายพร้อม พิมพ์วงค์ : ผู้ใหญ่บ้าน) หมู่ที่ 6 บ้านหุ่งหลวง (นางกมลลักษณ์ ศุภษร : ผู้ใหญ่บ้าน) หมู่ที่ 7 บ้านนาทอย (นายอำคา จันทร์สุข : ผู้ใหญ่บ้าน) หมู่ที่ 8 บ้านสร้างถ่อ (นายประหยัด เพ็ญพักตร์ : ผู้ใหญ่บ้าน) หมู่ที่ 9 บ้านดงบาก (นายประยูร บัณฑิตย์ : ผู้ใหญ่บ้าน) หมู่ที่ 10 บ้านพะเนียด (นายสุวรรณ แสงแดง : ผู้ใหญ่บ้าน) หมู่ที่ 11 บ้านหนามแท่งน้อย (นายทองจันทร์ ชมศรี : ผู้ใหญ่บ้าน) หมู่ที่ 12 บ้านไร่ศรีสุข (นายทวี ไชยรัตน์ : ผู้ใหญ่บ้าน) ประชากร รวมจำนวนประชากร 7,975 คน แยกเป็นชาย 4,076 คน หญิง 3,899 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย ประมาณ 19 ต่อตารางกิโลเมตร หมู่ที่ 1 บ้านหนามแท่ง จำนวนประชากร 776 คน หมู่ที่ 2 บ้านนาคอ จำนวนประชากร 645 คน หมู่ที่ 3 บ้านชาด จำนวนประชากร 890 คน หมู่ที่ 4 บ้านโหง่นขาม จำนวนประชากร 400 คน หมู่ที่ 5 บ้านดงนา จำนวนประชากร 460 คน หมู่ที่ 6 บ้านหุ่งหลวง จำนวนประชากร 576 คน หมู่ที่ 7 บ้านนาทอย จำนวนประชากร 922 คน หมู่ที่ 8 บ้านสร้างถ่อ จำนวนประชากร 534 คน หมู่ที่ 9 บ้านดงบาก จำนวนประชากร 483 คน หมู่ที่ 10 บ้านพะเนียด จำนวนประชากร 833 คน หมู่ที่ 11 บ้านหนามแท่งน้อย จำนวนประชากร 1,003 คน หมู่ที่ 12 บ้านไร่ศรีสุข จำนวนประชากร 454 คน ลักษณะภูมิเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและลาดชันปานกลาง ไม่มีภูเขาสูง มีแม่น้ำเซบกไหลผ่านเขตติดต่อด้านทิศตะวันตก มีที่ราบลุ่มบางส่วนบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของตำบล ทิศเหนือเป็นที่ราบสูงเหมาะต่อการเลี้ยสัตว์ เป็นป่าละเมาะมีพื้นที่ทำนาประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ มีแม่น้ำห้วยนาคายไหลผ่านด้านทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเซบก สภาพทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ประมาณ 93% อาชีพรองลงมาได้แก่ อาชีพค้าขาย รับราชการ รับจ้างทั่วไป เลี้ยงสัตว์ และประกอบกิจการพาณิชย์ขนาดเล็ก หน่วยธุรกิจในเขตรับผิดชอบ มีโรงสีข้าวขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมจำนวน 25 แห่ง มีสวนจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ จำนวน 1 แห่ง ไม่มีธนาคาร โรงแรม ปั๊มน้ำมันและก๊าซ สถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา (ขยายโอกาส) ม.ต้น จำนวน 4 แห่ง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง โรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 แห่ง สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน จำนวน 2 แห่ง อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100% การคมนาคม ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้าน จำนวน 12 สาย ในพื้นที่ หมู่ที่ 1-9 และ หมู่ที่ 13 รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 5.5 กิโลเมตร ถนนลาดยาง ในพื้นที่ หมู่ที่ 1,3,8,12 และ 13 รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 16 กิโลเมตร ถนนลูกรัง จำนวน 11 สาย ในพื้นที่ หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12 และ 13 รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 67.3 กิโลเมตร การโทรคมนาคม ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (อนุญาตเอกชน) จำนวน 1 แห่ง มีตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์ จำนวน 8 ตู้ การไฟฟ้า มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน รวมมีประชากรที่ใช้ไฟฟ้าประมาณ 5,873 คน แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ, ลำห้วย จำนวน 7 สาย บึง, หนองและอื่นๆ จำนวน 8 แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ฝายชะลอน้ำ จำนวน 9 แห่ง บ่อน้ำตื้น (ใช้การได้) จำนวน 111 แห่ง บ่อบาดาล (ใช้การได้) จำนวน 34 แห่ง สระน้ำ (ใช้การได้) จำนวน 191 แห่ง ประปาหมู่บ้าน จำนวน 6 แห่ง มวลชนจัดตั้ง ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน จำนวน 2 รุ่น 360 คน ไทยอาสาป้องกันชาติ จำนวน 1 รุ่น 90 คน สหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านหนองเป็ด จำนวน 1 รุ่น 200 คน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 1 รุ่น 120 คน

info_outline วิสัยทัศน์-พันธกิจ
วิสัยทัศน์พันธกิจหน่วยงาน
สนับสนุนสินค้า (OTOP) เพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในตำบล อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ทั่วถึง ฟื้นฟูสภาพป่าชุมชนปลูกจิตสำนึกให้คนรักป่า 1.อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นดูแลสวัสดิการสังคม และสาธารณสุขชุมชน 2.ดูแลสิ่งแวดล้อม จัดระเบียบชุมชนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3.ส่งเสริมการท่องเที่ยว กีฬา กลุ่มอาชีพ การบริหารจัดการ

check_circle ที่ตั้งสำนักงาน
ข้อมูล
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนามแท่ง ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี 34250 โทรศัพท์/โทรสาร 045-210-936 อีเมล์ palad@namthaeng.go.th เว็บไซต์ www.namthaeng.go.th

สถานที่ตั้งหน่วยงาน


× องค์การบริหารส่วนตำบลหนามแท่ง